ก่อนที่เราจะมาเริ่มเขียน Theme WordPress ใช้งานเองนั้น เรารู้จักกับ WordPress ดีพอหรือยัง สามารถใช้งานมันได้เต็มประสิทธิภาพแล้วหรือยัง เรียนรู้ระบบต่างๆภายในแล้วหรือยัง รู้จักภาษา PHP และ HTML (CSS,JavaScript) แล้วหรือยัง  เป็นต้น หากเราไม่มีข้อมูลพวกนี้อยู่เลย การเขียน Theme WordPress นี้ คงเป็นเรื่องยากแล้วล่ะครับ ยิ่งเกริ่นนำยิ่งออกทะเล เดี๋ยวจะหมดกำลังใจที่จะเขียน Theme กันก่อน เอาล่ะมาเริ่มกันเลย

มารู้จักกับโครงสร้างของ WordPress

anatomy-wordpress-yoast

ดูจากรูปโครงสร้างด้านบนแล้วงงกันมั๊ยครับ ผมจะอธิบายทีละฉากละกัน การทำงานของ wordpress หลักๆจะมี 3 ส่วนคือ หัว ตัวและขา ดังนี้

  • ส่วนหัว Head -> header.php
  • ส่วนตัว Content -> index.php , sidebar.php , category.php , archives.php , single.php เป็นต้น
  • ส่วนขา Foot -> footer.php

ก็ยังงงล่ะสิท่า ดูภาพดีฟ่าครับ

default-homepage

ที่จะบอกก็คือ คุณต้องรู้ก่อนว่าในการเขียน Theme WordPress นั้น คุณจะต้องรู้ว่ามันมีไฟล์อะไรบ้างที่จะสร้าง Theme ขึ้นมาได้ โดย WordPress จะกำหนดไฟล์เหล่านี้มาโดยเฉพาะเลยก็ว่าได้ ไฟล์ที่ว่ามีดังนี้

  1. header.php เป็นไฟล์ส่วนหัว สำหรับประกาศพวกแท็ก html , head , body อะไรก็ว่ากันไป
  2. footer.php หัวแล้วก็มาท้าย footer.php สำหรับปิดแท็กหรือจบทุกอย่างไว้ในส่วนท้าย
  3. index.php ตัวสำคัญที่จะทำให้หน้าแรกของคุณเกิดขึ้นมาได้ ประกอบไปด้วยหลายๆไฟล์มารวมกัน เช่น search.php , nav.php , sidebar.php , category.php , archives.php , tag.php , single.php , page.php เป็นต้น
  4. category.php สำหรับหน้าหมวดหมู่ต่างๆ หากไม่มีสามารถใช้ archives.php ทดแทนกันได้ ไม่ซีเรียสนะ
  5. single.php มันคือหน้าบทความที่เราอ่านๆกัน ให้นึกถึงตอนเราสร้าง Post ใน WordPress
  6. page.php หน้าเพจเช่นพวก about , contact ให้นึกถึงตอนเราสร้าง Page ใน WordPress
  7. sidebar.php มันคือข้อมูลด้านข้าง การใช้งานเอาไว้มาลงรายละเอียดกันอีกทีครับ
  8. comments.php สำหรับถามตอบและแสดงความคิดเห็น จะอยู่ในส่วนของ single.php
  9. functions.php ไฟล์นี้ค่อนข้างจำเป็นสำหรับเติมเต็มให้ WordPress มีชีวิตชีวาครับ เอาไว้มาลงรายละเอียดกันอีกทีนะ
  10. style.css สำหรับจัดการรูปแบบที่สวยงามของเว็บไซต์ ไม่บังคับ
  11. screenshot.jpg ภาพสำหรับแสดงรูปตอนเราเปลี่ยนธีมครับ

หมดละครับ หลักๆก็จะมีแค่นี้เอง รู้ไว้คร่าวๆแค่นี้ก็พอ รายละเอียดลงลึกเอาไว้เจอกันใน การเขียน Theme WordPress ตอนที่ 2 ครับ

Comments